หัวข้อที่ครอบคลุม
ณ จุดหนึ่งของชีวิตของการเป็นนักศึกษาปริญญาตรี พวกเขาจะต้องผ่านช่วงฝึกงานเพื่อรับประสบการณ์ในการทำงานจริงและนำความรู้ไปปฏิบัติในโลกของการทำงาน
หนึ่งในคำถามที่ยังคงถกเถียงกันมากที่สุดจนถึงปัจจุบันก็คือนักศึกษาควรที่ฝึกงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ ในขณะที่บางคนยังคงยืนยันว่าไม่มีใครควรที่จะทำงานฟรี แต่บางคนก็แย้งขึ้นมาว่านักศึกษายังคงได้ประโยชน์อื่นๆจากการฝึกงานถึงแม้จะไม่ได้รับค่าจ้างก็ตาม
เกี่ยวกับเรื่องการฝึกงาน เราจะช่วยให้น้องเห็นข้อดีและข้อเสียเพื่อที่น้องจะได้มีข้อมูลเพิ่มมากึ้นในการตัดสินใจ
การขยายคอนเนคชั่นที่อาจเกี่ยวข้องกับอาชีพของน้องเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ทุกคนสามารถทำได้ในขณะที่ยังคงเป็นนักศึกษาอยู่
ด้วยคอนเนคชั่นที่นักศึกษามี จะทำให้นักศึกษาไม่เริ่มต้นจากศูนย์เมื่อจบการศึกษาและก้าวออกจากรั้วมหาลัยอย่างมั่นใจ
เนื่องจากมีแรงกดดันน้อยกว่าในการทำงานจริง การฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจึงมักจะเน้นที่ประสบการณ์มากกว่า ซึ่งรวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆที่มักจะมีข้อเสนอมากมายให้กับผู้ฝึกงาน
นี่คือโอกาสที่ผู้ฝึกงานจะสามารถขอคำแนะนำเกี่ยวกับด้านอาชีพและคำแนะนำจากที่ปรึกษาผู้ซึ่งมีประสบการณ์ตรงในบริษัทที่น้องไปฝึกงาน
คอนเนคชั่นที่นักศึกษาได้จากที่ฝึกงานอาจจะช่วยให้นักศึกษาได้งานทำหรือก้าวเข้าสู่อาชีพในฝันจริงๆก็ได้
เหตุใดจึงจำกัดตัวเองเพียงแห่งเดียว ในเมื่อนักศึกษาสามารถฝึกงานได้ถึง 2 ครั้งในหลักสูตรการศึกษาสำหรับนักศึกษาคนไหนที่มีความกล้าได้กล้าเสียและกระหายในประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้นก่อนที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง การได้ฝึกงาน 2 ที่ก็เป็นความคิดที่ดี
ไม่ว่าจะสองที่นั้นจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือต่างอุตสาหกรรมกัน แต่การมีประสบการณ์ฝึกงานกับบริษัทอื่นมาก่อนจะทำให้น้องแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่นๆที่สมัครในตำแหน่งงานเดียวกันอย่างแน่นอน
มันจะแสดงให้เห็นว่านักศึกษาได้พัฒนาทักษะการทำงานแบบมืออาชีพแล้วและนักศึกษาก็ได้ทุ่มเทให้กับหน้าที่เดิมของนักศึกษา แม้ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนก็ตาม
บางครั้งทักษะและประสบการณ์อาจมีค่ามากกว่าเงิน ข้อดีอย่างหนึ่งของการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนก็คือความรู้มากมายที่น้องจะได้รับจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานหรือยังคงวางแผนเส้นทางสู่อาชีพในฝันของตนเอง โปรแกรมการฝึกงานที่ไม่มีค่าตอบแทนเป็นก้าวแรกที่ยอดเยี่ยม
สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้นักศึกษาก้าวเข้าใกล้ความฝันยิ่งขึ้นแต่ยังช่วยให้นักศึกษาค้นหาสิ่งที่เหมาะกับพวกเขาและสิ่งที่ไม่เหมาะกับพวกเขาได้ด้วย
แม้ว่าสุดท้ายอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมาะสมกับการทำอาชีพนั้นแต่น้องๆก็ยังสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปใช้ในโอกาสต่อไปได้
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดที่สุดสำหรับการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนก็คือความจริงที่ว่าพวกเขาไม่ได้รับค่าตอบแทนนั่นแหละ
สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ต่างประเทศและต้องทำงานพาร์ไทม์หรือยังคงต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน ตัวเลือกนี้ก็คงไม่เหมาะสมเท่าไร
ยิ่งไปกว่านั้น การฝึกงานยังอาจจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากอีกด้วย ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหารประจำวัน หรือแม้แต่ชุดพนักงาน ซึ่งอาจจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงสำหรับนักศึกษาเลย
ตรวจสอบสถานะการเงินของตัวเองให้ดีเพื่อดูว่าตนเองสามารถรับภาระจากการฝึกงานแบบไม่มีค่าตอบแทนหรือไม่ก่อนที่จะเลือกฝึกงานแบบนี้
เนื่องจากไม่มีค่าตอบแทน จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ฝึกงานที่จะรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจากลักษณะการทำงาน
ในกรณีของการฝึกงานที่ได้รับค่าตอบแทน ผู้ฝึกงานจะได้รับรางวัลเป็นเงินเดือนสำหรับการทำงานหนักและความพยายาม ซึ่งเป็นแรงจูงใจและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานยิ่งขึ้น ในขณะที่การฝึกงานแบบไม่ได้รับค่าตอบแทนอาจทำให้นักศึกษารู้สึกหมดกำลังใจ
ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงานหรือการทำงานประจำ บางครั้งเงินรางวัลก็อาจเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้พนักงานทำงานได้ดีขึ้น
ในตลาดงานปัจจุบัน การฝึกงานที่ได้รับค่าตอบแทนมีโอกาสที่พวกเขาจะเป็นนายจ้างจริงๆในอนาคตมากกว่าการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน
สถิติการฝึกงานหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าการฝึกงานที่ได้รับค่าจ้างนำไปสู่งานประจำหลังจากสำเร็จการศึกษามากกว่าการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ข้อเสนองานเหล่านี้อาจมาจากบริษัทที่นักศึกษาฝึกงานอยู่ หรือแม้แต่จากองค์กรอื่นที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ยังเป็นไปได้
เนื่องจากการฝึกงานที่ได้รับค่าตอบแทนจะมีการควบคุมและมีความน่าเชื่อถือมากกว่า จึงไม่มีคำถามว่าทำไมนักศึกษาที่ผ่านการฝึกงานแบบนี้จึงได้รับการยอมรับในทีมงานมืออาชีพ
สร้างโปรไฟล์พร้อมทั้งปลดล็อกคุณสมบัติต่าง ๆ มากมาย รวมถึงคำแนะนำแบบส่วนตัว แอปพลิเคชันที่ติดตามได้อย่างรวดเร็ว และอื่น ๆ อีกมากมาย
Dive into our extensive collection of articles by using our comprehensive topic search tool.