หัวข้อที่ครอบคลุม
หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่า SOP เป็นเอกสารมีความสำคัญมากสำหรับน้องๆ ที่กำลังยื่นใบสมัครหรือมีแผนเรียนต่อในระดับชั้นปริญญาที่ต่างประเทศ เพราะว่ามหาวิทยาลัยมักจะไม่ได้ดูนักเรียนว่าเหมาะกับหลักสูตรจากแค่ผลการเรียนและผลภาษาเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะให้น้ำหนักกับประสบการณ์และทัศนคติเกี่ยวกับวิชานั้นๆ อีกด้วยการเตรียม SOP ให้พร้อมก่อนการยื่นใบสมัคร ถือเป็นโอกาสเดียวที่มหาวิทยาลัยจะเปิดให้ผู้สมัครได้แสดงถึงความตั้งใจในการเรียนต่อ หลักการในการเขียน SOP นั้นไม่ยาก แต่จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนเพราะผู้สมัครต้องหาวิธีสื่อสารความเป็นตัวตนของผู้สมัครโดยผ่านการแชร์มุมมองหรือประสบการณ์และที่สำคัญคือ จะทำอย่างไรเพื่อให้ SOP ของผู้สมัครโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ในเพียงคำที่จำกัด (โดยประมาณ 1 ถึง 1.5 หน้ากระดาษ A4)วันนี้พี่ๆ IDP จะสรุป 5 สิ่งที่ควรทำ และ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการเขียน SOP มาให้น้องๆ ค่ะ ก่อนอื่นต้องขออธิบายเพิ่มว่า SOP เปรียบเสมือนเอกสารการสมัครเรียน ที่จะอธิบายเกี่ยวกับตัวตนของผู้สมัครว่า เป็นใครและแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่นอย่างไร SOP เป็นอีกหนึ่งเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนของทางมหาวิทยาลัยที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถด้าน Soft Skills ของผู้เรียน ซึ่งจะพิจารณาประกอบกับเอกสารการสมัครเรียนอื่นๆ ที่เป็นการวัดผลเชิงตัวเลข เช่น ปีการศึกษาที่จบ, คณะที่จบ, จำนวนหน่วยกิตที่ได้รับ, และคะแนน GPA เป็นต้น**โดยส่วนมากมหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญกับเกณฑ์การรับสมัครในเชิงข้อมูลด้านตัวเลขเป็นอย่างแรก แต่เมื่อใช้เกณฑ์ข้อมูลด้านตัวเลขแล้วมีนักเรียนหลายคนได้คะแนนเท่ากัน ก็จึงจะใช้เกณฑ์ความสามารถด้าน Soft Skill ในการช่วยตัดสิน
1) เล่าเรื่องของตัวน้องเอง ในแบบที่มีแต่น้องเท่านั้นที่เล่าได้: ตรงนี้ต้องขอบอกว่า ห้ามไปลอก SOP ของคนอื่นมาเด็ดขาด น้องๆ ควรจะเล่าเรื่องของน้องๆ เอง ดึงลักษณะและเรื่องราวที่โดดเด่นของตัวเองออกมาให้ผู้อ่านได้ทราบ
2) โฆษณาตัวเองค่ะ: พรีเซนต์ตัวเองเลยว่า น้องทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง นำเสนอความเป็นผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่ทักษะการทำงานเป็นทีมก็ได้
3) ศึกษาข้อมูลจากทางเว็บมหาวิทายลัยนั้นๆ: ในส่วนนี้ของ SOP แสดงให้เห็นว่าน้องศึกษาข้อมูลของหลักสูตรที่น้องสมัครเรียน รวมถึงประโยชน์ต่างๆ ที่น้องจะได้จากการเข้าเรียนที่นั่น หากน้องๆ ศึกษาข้อมูลจะพบว่าในบางครั้งคณะเดียวกันแต่ต่างมหาวิทยาลัย รายวิชาและมุมมองที่ใช้ในการสอนก็ย่อมแตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงคณะอาจารย์และเพื่อร่วมชั้นเรียนด้วย
4) ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างรูปธรรมให้เยอะเข้าไว้: สำหรับน้องๆ คนไหนที่มีประสบการณ์ทำงานแล้ว ใน SOP แนะนำให้ยกตัวอย่างที่สามารถวัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้ ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมบริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ 1 ล้านบาทแต่เนื่องด้วยวิธีการทำงานของน้องสามารถทำให้บริษัทมียอดขายถึง 2 ล้านบาท เป็นต้น นี่คือตัวอย่างสั้นๆ ที่เป็นรูปธรรมที่สามารถนำเสนอในเชิงตัวเลขได้ ส่วนน้องๆ ที่ยังไม่ได้ทำงานก็สามารถยกตัวอย่างจากเรื่องต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
5) Get feedback: ในการเขียน SOP เราสามารถเขียนเรื่องของตัวเองในมุมมองที่คนอื่นมองเราได้ ลองไปถามคนรอบตัวของน้องๆ ว่าน้องสนใจอยากเรียนด้านนี้แล้วพวกเขามีความคิดเห็นอย่างไร มองตัวน้องเป็นอย่างไร ในบางเรื่องหรือบางครั้ง บุคคลอื่นก็มองเห็นในมุมที่น้องมองไม่เห็นหรือมุมที่น้องๆ อาจมองข้ามไป
1) อย่าเขียนเรื่องที่มีอยู่แล้วใน Resume: เนื่องจากการเขียน SOP จะจำกัดจำนวนคำอยู่ที่ประมาณ 700-800 คำ ดังนั้นทุกคำ ที่เราเขียนลงไปต้องใช้ให้คุ้มค่าที่สุด ต้องนำเสนอตัวเองให้โดดเด่นและตรงกับสิ่งที่มหาวิทยาลัยกำลังมองหามากที่สุด
2) อย่าคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นโดยเด็ดขาด: มหาวิทยาลัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจจับการคัดลอกผลงาน และทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ถ้าหากมีการตรวจพบว่ามีการคัดลอกผลงานการเขียนจากของบุคคลอื่นขึ้น น้องอาจถูกตัดสิทธิได้ในทันที
3) ไม่ควรเขียน SOP ในนาทีสุดท้าย: น้องควรจะเริ่มเขียน SOP ตั้งแต่เนิ่นๆ การเขียน SOP เพียงแค่ 1 สัปดาห์ ก่อนการปิดรับสมัครถือว่าสายเกินไป น้องควรเผื่อเวลาในการเขียนเป็นเดือนหรืออาจหลายเดือน เพื่อที่จะพัฒนา หาข้อมูล และปรับปรุงการเขียน SOP ให้ออกมาดีที่สุดโดยนำเสนอตัวเองให้โดดเด่นและชัดเจนมากที่สุด
4) อย่าสอนผู้อ่าน: ต้องอย่าลืมว่าผู้ที่อ่าน SOP ของเขาคือคณะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยซึ่งมีทั้งประสบการณ์และงานวิจัยมากมาย ดังนั้นการใช้ความเชื่อส่วนบุคคลมากเกินไปโดยไม่มีทฤษฎีหรือหลักฐานใดๆ รองรับไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ
5) อย่าลืมความเป็นตัวของตัวเอง: การเป็นตัวของตัวเองและรู้จักตัวเอง จะทำให้น้องโดดเด่นและแตกต่างจากนักเรียนผู้ยื่นใบสมัครคนอื่นๆ
การเขียน SOP ไม่มีคำว่า ถูก หรือ ผิด และไม่มีใครเขียนได้ Perfect ตั้งแต่ครั้ง ดังนั้นอย่ากลัวที่จะเริ่มเขียน
หากน้อง ๆ มีความฝันที่อยากไปศึกษาที่ต่างประเทศ สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่แนะแนวของ IDP ได้แบบฟรีๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับในการเขียน SOP ทาง IDP เรามีอาจารย์ต่างชาติช่วยตรวจและชี้แนะจุดเด่นจุดด้อยของน้องๆ สำหรับการตรวจ SOP ทาง IDP ทำการตรวจให้น้องฟรี แบบไม่จำกัดครั้ง จนกว่าน้องจะได้ SOP ที่สมบูรณ์ที่สุด **เมื่อดำเนินการสมัครเรียนกับ IDP เท่านั้นนะคะ**
หากน้องๆ คนไหนอยากฟังเทคนิค Do’s and Don’ts ในการเขียน SOP อย่างละเอียดสามารถรับชมได้ที่ https://youtu.be/zv2saZn-wpg
สร้างโปรไฟล์พร้อมทั้งปลดล็อกคุณสมบัติต่าง ๆ มากมาย รวมถึงคำแนะนำแบบส่วนตัว แอปพลิเคชันที่ติดตามได้อย่างรวดเร็ว และอื่น ๆ อีกมากมาย
Dive into our extensive collection of articles by using our comprehensive topic search tool.